Archives: Tips & Tricks
Garmin Tips : วิธีการวัด Lactate Threshold
Garmin Tips : Lactate Threshold
Garmin feature – VO2Max, Lactate Threshold
คุณภาพอากาศ เป็นยังไง? Garmin บอกได้!
ทุกคนคงทราบสภาพอากาศที่มีมลพิษและฝุ่น PM2.5 ในอากาศทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล (รวมถึงในบางจังหวัด) การเช็คคุณภาพอากาศ AQI แบบ Real-time นั้นมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น Smart Phone Application, บน Website และอีกวิธีหนึ่งที่คุณยังอาจจะยังไม่ทราบคือบนนาฬิกา #GARMIN เรือนโปรดของคุณ ผ่าน Widget ทื่ชื่อว่า “Airly” ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก Connect IQ Store ส่วนขั้นตอน และวิธีการนั้น เรามาเริ่มทำกันแบบ Step by step เลย

Step 1 – เข้า
Connect IQTM Store
(อย่าลืมเปิด Bluetooth ก่อน)
เปิดแอพฯ Garmin Connect และกดไปที่เมนู (รูปขีด 3ขีด)
– สำหรับ iOS อยู่มุมขวาล่าง
– สำหรับ Android อยู่มุมซ้ายบน
และเลื่อนเมนูลงมา และกดเข้าไปที่ Connect IQTM Store
(สำหรับคนที่ยังไม่เคยเข้า Connect IQTM Store ต้อง Log-in อีกครั้งโดยใช้ ID และ Password เดียวกับ Garmin Connect)

Step 2 – Download Widget “Airly”
1.พิมพ์ใช่ช่องค้นหาว่า Airly
2. กดเครื่องหมายค้นหา (แว่นขยาย)
3. เลือก Widget “Airly – Air Quality Manager”
4. กด Download > ระบบจะขึ้นหน้าให้เรายอมรับเงื่อนไขการใช้งาน ก็กด Accept Term ตามปกติ

Step 3 – Sync Garmin Connect อีกครั้ง
หลักจาก Download Widget “Airly” เรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปที่หน้าแรกของแอพฯ Garmin Connect
และกด Refresh อีกครั้ง แล้วรอจนกว่าระบบจะ Sync สำเร็จ (วงกลมสีเขียวหมุนจนเต็มวง)
Step 4 – มาทำกันต่อที่นาฬิกา
Widget “Airly” จะเข้ามาอยู่ใน Widget ของคุณหน้าสุดท้าย (กดเลื่อนขึ้นแล้วเจอเลย)
โดยการใช้งานนั้นจะต้องเชื่อมต่อ Bluetooth กับโทรศัพท์เพื่อดึงข้อมูลแบบ Real-time จากอินเตอร์เน็ต
ซึ่งข้อมูลของ Widget Airly นั้นสามารถบอกข้อมูลได้อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น
– ค่า Air Quality Index (AQI)
– ค่า PM 2.5 และ PM 10
– อุณหภูมิปัจจุบัน และความชื้นสัมพัทธ์
– การวิเคราะห์ข้อมูล และนำแนะนำ (ในหน้าที่ 2 เมื่อกด Enter เข้าไป)
– อ้างอิงชื่อสถานีวัดสภาพอากาศที่วัดข้อมูล (Measurement Location)
– บอกเวลาที่รับข้อมูล และพิกัดจาก GPS (Timestamp & Coordinates from GPS)
สำหรับผู้ที่ Widget ไม่แสดงอัตโนมัติ สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่เมนู > ตั้งค่า (Setting) > Widgets >Add Widgets > Airly (อยู่ข้อสุดท้าย)
2. จากนั้นระบบจะให้เลือกตำแหน่งการวางของ Widget “Airly”
เพียงเท่านี้ Widget “Airly” ก็พร้อมใช้งานบนนาฬิกาเรือนโปรดของคุณแล้ว
นาฬิกา Garmin รุ่นที่รองรับการใช้งานมีดังนี้

(ทุกรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อ Connect IQTM Store ได้)
– vivoactive3 & vivoactive3 Music
– Forerunner 235
– Forerunner 645 & Forerunner 645 Music
– Forerunner 735XT
– Forerunner 935
– fenix3 & fenix3 HR Series
– fenix5 Series
– fenix5 Plus Series
– Decent Mk1
– Approach S60
อย่ารอช้า!!! รีบโหลดมาใช้ด่วนๆ Garmin เป็นห่วงนะ
#GarminThailand #GarminSport #GarminByGIS #ConnectIQ
การลงแผนที่นำทาง
การตั้งค่า HR Zone ผ่าน Garmin Connect
ในปัจจุบัน HR Zone นั้นเป็นที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นค่าที่สำคัญในการออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นเราจึงควรจะตั้งค่า HR Zone ให้ตรงกับสมรรถภาพของร่างกายเราให้มากที่สุด เพื่อให้ HR Zone ช่วยบอกความเหนื่อย, ความหนัก-เบา ในการออกกำลังกายให้แม่นยำที่สุด
มาลองตั้งค่า HR Zone ผ่าน App. Garmin Connect ตามขั้นตอน ไปพร้อมๆกันเลยครับ
- กดเข้าไปที่รูปนาฬิกา
หลักจากเปิด App Garmin Connect และเปิด Bluetooth เชื่อมต่อกับนาฬิกาเรียบร้อยแล้ว - เลือกที่ “การตั้งค่าผู้ใช้” (User Setting)

- เลื่อนลงมา และเลือกที่ “กำหนดค่าโซนอัตราการเต้นของหัวใจ” (Configure Heart Rate Zones)
- เลือกวิธีการคำนวณโซนอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกถึง 3 วิธี
- การแบ่ง HR Zone มี 3 วิธีดังนี้
- % อัตราหัวใจสูงสุด ( % of Max Heart Rate)
คำนวณจากอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Max HR) และแบ่งออกเป็นเปอร์เซนต์ - % เกณฑ์แลคเตท ( % of Lactate Threshold)
คำนวณหาค่า Lactate Threshold โดยการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย - % อัตราการเต้นของหัวใจที่สำรอง ( % of Heart Rate Reserve)
คำนวณจากการวัดค่า Max HR และอัตราการเต้นหัวใจขณะพัก (Resting HR)
โดยการเลือกใช้ HR Zone ในแต่ละแบบนั้นมีข้อดี ข้อเสีย และหลักการในการคำนวณที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นผู้ใช้ควรจะศึกษาวิธีการใช้งาน การคำนวณ และเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

- การหาค่า Resting Heart Rate
วิธีการหาอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก - ใช้ค่า Resting Heart Rate ที่ได้จากการใส่นาฬิกา Garmin นอน
ควรจะใช้ค่า Last 7 Days Avg. RHR หรือค่า Resting Heart Rate เฉลี่ย 7 วันล่าสุด
(ควรใส่นาฬิกาแน่นพอสมควร และต่อเนื่องกัน 7 วันเป็นอย่างน้อย) - ใช้ค่าที่ได้จากการวัดชีพจรด้วยตนเอง
สามารถวัดค่าชีพจรตนเองขณะที่ตื่นนอนได้ 2 จุดคือบริเวณคอ หรือบริเวณข้อมือ โดยจะนับอัตราการเต้นของตัวใจประมาณ 1 นาที แต่อย่างไรก็ตาม เราควรจะนำค่าที่ได้มาจดบันทึก และเฉลี่ยเป็นเวลา 7 วันด้วยเช่นกัน - การตั้งค่า HR Zone เฉพาะสำหรับการวิ่ง จักรยาน และว่ายน้ำ
สำหรับนักกีฬาที่ต้องการฝึกซ้อมเพื่อความเป็นเลิศ หรือต้องการเห็นผลจากการฝึกซ้อมกีฬาแต่ละชนิดอย่างจริงจัง
HR Zone เฉพาะกีฬานั้นคือว่าจำเป็นเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฝึกซ้อม เพราะว่าจริงๆแล้ว HR Zone ในกีฬาวิ่ง กับ HR Zone ในกีฬาจักรยานนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าที่ไม่เท่ากัน เพราะกีฬาต่างประเภทกันมีการใช้กล้ามเนื้อไม่เหมือนกัน และแรงกระแทกของร่างกายก็ไม่เท่ากัน
ดังนั้นถ้าคุณต้องการซ้อมกีฬาอย่างจริงจัง การตั้งค่า HR Zone เฉพาะประเภทกีฬานั้นเป็นอะไรที่ตอบโจทย์นักกีฬาได้อย่างดีที่สุด
มาลองนำไปใช้กันได้นะครับ
